ค่าเงินบาทแข็งค่า 35.88 บาท เริ่มผันผวนตามสกุลเงินฝั่งเอเชีย

วันที่ 13 ก.พ. นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.88 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.85-36.00 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ และประเมินกรอบในช่วง 35.75-36.15 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.84-35.95 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำทยอยปรับตัวลดลงสู่โซนแนวรับระยะสั้น ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ อย่างไรก็ดี เงินบาทก็ไม่ได้อ่อนค่าไปมาก เนื่องจากโดยรวมเงินดอลลาร์ก็แกว่งตัวในกรอบ เพื่อรอลุ้นปัจจัยใหม่ๆ โดยเฉพาะ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ ในคืนวันอังคารนี้ (ตามเวลาประเทศไทย)

ตลาดหุ้นสหรัฐ เริ่มเผชิญแรงขายทำกำไร โดยเฉพาะแรงขายบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ (the Magnificent 7) อาทิ Microsoft -1.3%, Amazon -1.2% หลังจากที่หุ้นกลุ่ม The Mag. 7 ได้ปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐ ต่างก็รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ในวันอังคาร ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มเติม แม้ว่าโดยรวมรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนสหรัฐ ในไตรมาส 4 ที่ทยอยประกาศออกมาจะดูสดใสก็ตาม

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นกว่า +0.54% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม L’ Oreal +2.4% และ LVMH +1.8% ที่ยังได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการที่ออกมาสดใส ขณะเดียวกัน บรรดาหุ้นกลุ่มการเงินก็รีบาวด์ขึ้นบ้าง หลังเผชิญแรงขายในช่วงก่อนหน้า จากรายงานผลประกอบการที่ออกมาต่ำกว่าคาด ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ และยูโรโซน รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก (เฟด, BOE และ ECB)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะปรับตัวขึ้นบ้าง ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงเชื่อว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบก็มีส่วนช่วยหนุนบอนด์ยีลด์ ทว่าบรรยากาศระมัดระวังตัวของตลาดหุ้นสหรัฐ ก็ทำให้โดยรวม บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ไม่ได้ปรับตัวขึ้นจนทะลุระดับ 4.20% และ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 4.18% อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า ยังมีโอกาสที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ จะปรับตัวขึ้นต่อจนทะลุระดับ 4.20% ได้ไม่ยาก หากผู้เล่นในตลาดทยอยลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยหลายครั้งของเฟด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ยังคงแข็งแกร่งและดีกว่าคาด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงช้ากว่าคาด

ดังนั้น เราจึงขอเน้นย้ำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเน้นกลยุทธ์ Buy on Dip เพื่อลดความเสี่ยงการขาดทุนเมื่อมองภาพผลตอบแทนโดยรวม หรือ Total Return ซึ่งหากบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ สามารถปรับตัวขึ้น ทะลุระดับ 4.20% ไปได้ ก็จะมีความน่าสนใจในการทยอยเข้าซื้อเป็นอย่างมาก

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ sideways โดยเงินดอลลาร์ยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง จากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงเชื่อว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย รวมถึงบรรยากาศปิดรับความเสี่ยงของตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ก็ยังไม่รับปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์ที่ชัดเจน จนกว่าจะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 104.1 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 104-104.3 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ย่อตัวลงสู่โซนแนวรับระยะสั้น 2,020-2,030 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่รีบาวด์ขึ้นบ้างและแกว่งตัวใกล้ระดับ 2,030 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ในเชิงเทคนิคัล การปรับตัวลดลงของราคาทองคำในช่วงนี้ ได้เพิ่มความเสี่ยงที่ราคาทองคำอาจปรับตัวลดลงต่อ เร็วและแรง เหมือนในช่วงปลายเดือนกันยายนได้ โดยหากราคาทองคำปรับฐานต่อเนื่อง ก็อาจย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับถัดไปแถว 2,015 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และจะมีโซน 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นแนวรับหลักเชิงจิตวิทยา

สำหรับวันนี้ เราประเมินว่า ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะจับตา คือ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ เดือนมกราคม โดยหากอัตราเงินเฟ้อ CPI ชะลอตัวลงต่อเนื่อง (จับตาที่โมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อ แบบ %m/m, %3m เทียบรายปี และ %6m เทียบรายปี) และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่เป้าหมาย 2% ของเฟดได้ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมั่นใจต่อคาดการณ์แนวโน้มการลดดอกเบี้ยเฟด ที่ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนพฤษภาคม และอาจลดดอกเบี้ยราว -125bps หรือ 5 ครั้ง แต่หากอัตราเงินเฟ้อกลับเร่งตัวขึ้น หรือไม่ได้ชะลอตัวที่ตลาดคาดหวัง ก็อาจยิ่งกดดันให้ ผู้เล่นในตลาดต้องกลับมาประเมินใหม่ว่า เฟดอาจไม่รีบลดดอกเบี้ย และเฟดก็อาจลดดอกเบี้ยตาม Dot Plot ล่าสุดเท่านั้น (ลด 3 ครั้ง และอาจเริ่มการลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน) ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็อาจยิ่งหนุนการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซน อาทิ ข้อมูลตลาดแรงงานอังกฤษ และดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดย ZEW ของเยอรมนี และยูโรโซน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของทั้ง BOE และ ECB

ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังคงประเมินว่า เงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านสำคัญแถว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ โดยภาพดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ ในคืนนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างวัน เงินบาทก็อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง หลังบรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมเริ่มกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น ซึ่งก็สามารถกดดันให้นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาทยอยขายหุ้นไทยได้

อย่างไรก็ดี หากเงินบาทผันผวนอ่อนค่าทะลุระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้จริง เราประเมินว่า เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าต่อเข้าใกล้โซน 36.15 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากบรรดาผู้เล่นในตลาด ทั้งผู้ส่งออก รวมถึงผู้เล่นต่างชาติที่มีสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) ก็อาจทยอยขายเงินดอลลาร์หรือขายทำกำไรสถานะ Short THB ในช่วงดังกล่าวซึ่งจะเป็นโซนแนวต้านระยะสั้นถัดไป

อนึ่ง ในช่วงนี้ เงินบาทเริ่มกลับมาผันผวนสอดคล้องกับบรรดาสกุลเงินในฝั่งเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะ เงินหยวนจีน (CNY) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ทำให้ต้องจับตาทิศทางของสกุลเงินฝั่งเอเชียดังกล่าวเช่นกัน โดยเราประเมินว่า การอ่อนค่าของเงินหยวนจีนอาจเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากทางการจีนได้พยายามประคองเงินหยวนในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ขณะที่เงินเยนญี่ปุ่น กลับเป็นสกุลเงินที่เราประเมินว่า อาจมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง ตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOJ ซึ่งอาจย้ำจุดยืนไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย หรือ ขึ้นดอกเบี้ย น้อยกว่าที่ตลาดกำลังประเมินอยู่ (ล่าสุด ตลาดมองว่า BOJ อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ราว 3-4 ครั้งในปีนี้)

ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

You May Also Like

More From Author