เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 กองทัพอากาศ จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ RTAF Symposium 2024 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการหารือเรื่องภารกิจของกองทัพอากาศ ภัยคุกคามและความท้าทาย แนวคิดทางยุทธศาสตร์ รวมไปถึง แผนงานหรือโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการ
โดยภายในงานนี้ มีการเปิดเผย สมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ. 2567 เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการพัฒนาสู่กองทัพอากาศที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ รวมถึงการประเมินสภาวะความมั่นคงที่ไทยอาจจะต้องเผชิญถึง พ.ศ. 2580
ทอ.ทำพิธีปลดเครื่องบิน PC-9 MUSTANG หลังประจำการกว่า 32 ปี
วันเด็กแห่งชาติ 2567 ทอ.จัด AIR SHOW บินผ่านปล่อยควันสี
นอกจากนั้นยังระบุแจงแผนพัฒนากองทัพอากาศในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น การรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ ภัยธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ อาชญากรรมทางไซเบอร์ หรือ ความขัดแย้งระหว่างรัฐต่อรัฐคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยกองทัพอากาศจัดทําสมุดปกขาวกองทัพอากาศครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2563 เพื่อเผยแพร่ภารกิจหน้าที่ การเตรียมความพร้อมของกองทัพ ให้ประชาชนรับทราบ แผนงานและโครงการสําคัญในห้วงระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2563-2573) แต่เนื่องจาก 4 ปีที่ผ่านมา โลกเกิดเหตุการณ์สําคัญหลายเหตุการณ์ อย่าง โควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน , สงครามอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมงบประมาณของประเทศในช่วงที่ผ่านมา หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทางทหารล้ำสมัยมากขึ้น
ส่งผลให้กองทัพอากาศต้องดําเนินการทบทวน โครงสร้างกําลังรบ และกําหนดแผนใหม่ เพื่อทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนา จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงและจัดทําสมุดปกขาวของกองทัพอากาศ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2567 (RTAF White Paper 2024)
ทั้งนี้ พล.อ.อ. เสกสรร คันธา เสนาธิการทหารอากาศ กล่าวถึงว่า ความสำคัญของการเปิดเผยแผนงานผ่านสมุดปกขาวในครั้งนี้ ระบุว่ามีแผนงานทั้งหมด 8 ด้าน 128 โครงการ ซึ่งวางแผนพัฒนาไปจนถึงปี พ.ศ. 2580 โดยกล่าวถึงเหตุผลในการปรับปรุงสมุดปกขาวในครั้งนี้ว่า ได้มีการประเมินความเสี่ยงทางทหาร โดยคำนึงการรักษาอธิปไตย และความมั่นคงทางอากาศเป็นที่ตั้ง และยังมีวิธีการดำเนินโครงการที่ชัดเจนตาม “Road map to unbeatable Air Force”
สำหรับ สมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ. 2567 ระบุถึง โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ที่น่าจับตามอง ตั้งแต่ 2568 – 2580 โดยมีรายละเอียดการจัดหายุทโธปกรณ์ในปี 2568 ที่น่าสนใจ ดังนี้
1.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน
การจัดหาทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 หรือ บ.ข.19/ก (F-16) ฝูงบิน 102 กองบิน 1 (โคราช) เนื่องจากครบอายุการใช้งาน โดยจัดหาจํานวน 1 ฝูงบิน พร้อมอุปกรณ์ เครื่องช่วยฝึก อะไหล่ ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุน (ปี 2568-2577)
2.โครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง
จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense System) โดยใช้อาวุธนําวิถีพื้นสู่อากาศ (Surface to Air Missile) ที่มีระยะยิง พิสัยได้ไกลไม่น้อยกว่า 30 ไมล์ทะเล (Medium Range Air Defense) (ระยะที่ 1 ปี 2568 – 2571)
3.โครงการจัดหาเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสําคัญทดแทนเครื่องบินลําเลียงแบบที่ 19 (Airbus 340-500)
จัดหาเครื่องบินลําเลียงระยะไกล (Long-haul) จํานวน 1 เครื่อง ที่มีขีดความสามารถบินได้ประมาณ 12 ชั่วโมง มีห้องโดยสารภายในให้มีความทันสมัย และมีมาตรฐาน พร้อมสนับสนุนการฝึกอบรมนักบิน ช่างประจําเครื่องอะไหล่ และการซ่อมบํารุง (ปี 2568 – 2571)
4.โครงการ ฮ.ขนาดกลางรับ-ส่งบุคคลสําคัญ
เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางรับ-ส่งบุคคลสําคัญ ตลอดจนสามารถปฏิบัติ ภารกิจการส่งกลับสายแพทย์ รวมทั้งภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิตได้จํานวน 2 เครื่อง โดยมุ่งเน้นการบูรณาการด้านการส่งกําลังและซ่อมบํารุงกับบริษัท อุตสาหกรรมในประเทศ (ปี 2568 – 2571)
5.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น
เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 2 (T-50TH) จํานวน 2 เครื่อง สําหรับ ใช้ฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ปี 2568 – 2571)
6.โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ (สร.หาดใหญ่)
เพื่อพัฒนาระบบป้องกันทางอากาศ ให้รองรับต่อภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอากาศของประเทศ ทั้งอากาศยานผิดกฎหมายในสภาวะปกติ อากาศยานขับไล่โจมตี อากาศยานไร้คนขับ และขีปนาวุธข้ามทวีปทางยุทธวิธี (ปี 2568 – 2571)
7.โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกตาคลี
เพื่อพัฒนาและบูรณาการการใช้ประโยชน์พื้นที่ของกองทัพอากาศ ในการสร้าง ศูนย์ฝึกตาคลี ณ กองบิน 4 ตาคลีสําหรับใช้เป็นที่ฝึกภาคสนามของหลักสูตรต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ และกระทรวงกลาโหม รวมทั้งหน่วยงานภายนอก (ปี 2568 – 2570)
8.โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกําลังบํารุงเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบที่ 2 (T-50TH)
เพื่อส่งกําลังบํารุงแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Performance Based Logistics : PBL) เพื่อรับประกันความพร้อมปฏิบัติการ (Availability) ของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ตามความต้องการทางยุทธการ และใช้งบประมาณดําเนินการตลอดอายุการใช้งานต่ำสุด โดยมีอายุของสัญญาหรือข้อตกลงคราวละ 3 – 4 ปี จนสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ (ปี 2568 – 2577)
9.โครงการจัดหารถยนต์พลังงานไฟฟ้าทดแทนรถยนต์เชื้อเพลิงที่ปลดประจําการ
เป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก สามารถขอการรับรองการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของกองทัพอากาศ จาก อบก.ได้ และสามารถนําไปดําเนินการด้านคาร์บอนเครดิตต่อไปได้ (ปี 2568 – 2571)